วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 1 ส่งวันที่ 18/6/54

1. อยากทราบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้หรือไม่และความผิดพลาดที่เกิดขึ้น สามารถเกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง จงอธิบายพร้อมสาเหตุประกอบ
ตอบ ได้ เพราะการที่คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนจากที่ควรจะเป็น อาจเป็นพราะมีอุปกรณ์ส่วนหนึ่งส่วนใดขัดข้อง เช่น
1.1 ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น
- สาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต
- วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดย เฉพาะ
1.2 ปัญหาที่เกิดจากซีพียู
- ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียด ซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยน ตัวใหม่สถานเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ
> อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ
> อาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ
- สาเหตุมักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว
- วิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
1.3 Harddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน)
สาเหตุอาจเกิดจาก
1) เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว Mortor
2) ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk เสียหาย
3) สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม
การแก้ปัญหา
1) ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือเปล่า โดยการถอดออกมาแล้วตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่
2) เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดูว่าใช้งานได้หรือเปล่า
3) ทดลองเปลี่ยนสายแพร หรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิดเครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
4) อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า

2. ให้นักศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้ ประวัติการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศไทย
>>เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1620
คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เป็นผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก  เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศ เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วย งานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย   จากเครื่องคอมพิวเตอร์แรก ก็มีวิวัฒนาการ Timeline ในการนำมาใช้ในประเทศไทยต่อมา ตามลำดับดังนี้
• ปี พ.ศ.2507 เดือนมีนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ได้แก่ "เมนเฟรมคอมพิวเตอร์" IBM 1401 ( มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท ) ขนาดพอกับเครื่องถ่ายเอกสารประจำสำนักงาน ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้งานเก็บบันทึกข้อมูลประชากร การนำมาประมวลผล การสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม จาก เดิมต้องใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงเข้ามาใช้ การรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศสามารถทำเสร็จในเพียง 18 เดือน

>>เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM 1401
• ปี พ.ศ. 2507 : ได้เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย กับ ธนาคารกรุงเทพ
• ปี พ.ศ. 2517 : ตลาดหลักทรัพย์ ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน ในด้านการซื้อขายหุ้น โดยใช้ เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
• ปี พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
• ปี พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย


อ้างอิง http://www.softbizplus.com/computer/1478-computer-history-thailand
อ้างอิง http://www.bcoms.net/problem_coms/accessory.asp