ฐานข้อมูล ( Database) หมายถึงชุดของข้อมูลที่รวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่อง ราวเดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชุดข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลค้า และ ฐานข้อมูล วิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ หรือบางข้อมูลอาจจะได้มาจากการประมวลผลข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลกลับไปเก็บที่ตำแหน่งที่ต้องการ
ระบบฐานข้อมูล ( Database System) ความหมายของระบบฐานข้อมูลก็คือ ที่รวมของ ฐานข้อมูลต่าง ๆ หรือที่รวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจจะได้จากการคำนวณ หรือประมวลผลต่าง ๆ หรืออาจจจะได้จากการบันทึกข้อมูลโดยผู้ใช้ เช่น ระบบฐานข้อมูลงานทะเบียนนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ก็จะรวมเอาฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลวิชาเรียน ฐานข้อมูลนิสิต ฐานข้อมูลอาจารยผู้สอน และ ฐานข้อมูลหลักสูตร เป็นต้น ซึ่งรวมกันเป็นระบบฐานข้อมูลของงานทะเบียนนิสิต หรือ ฐานข้อมูลห้างร้านต่าง ๆ ก็จะประกอบด้วย ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลระบบบัญชีฐานข้อมูลลูกหนี้ และฐานข้อมูลตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น ดังภาพประกอบดังต่อไปนี้
องค์ประกอบของฐานข้อมูล
1. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนของข้อมูล ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบฐาน
ข้อมูล เนื่องจากองค์ประกอบอื่นเป็นเพียงตัวสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ส่วนของข้อมูลเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งส่วนของข้อมูลนี้สร้างมาโดยสนับสนุนให้มีการใช้งานพร้อม ๆ กันหลายคน หรือบางข้อมูลสนับสนุนให้มีการใช้เพียงคนเดียว เป็นการเฉพาะบุคคลก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของระบบข้อมูลที่ทำการออกแบบไว้ ซึ่งการออกแบบในส่วนของฐานข้อมูลนี้ จะกล่าวถึงรายละเอียดที่มากขึ้นในบทต่อ ๆไป ว่าจะต้องออกแบบอย่างไรให้การเรียกใช้ข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากที่สุดออกแบบอย่างไรไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. อุปกรณ์ (Hardware) เป็นส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ซึ่งจะสนับสนุนให้การทำงานกับข้อมูลมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเพียงใดเพื่อให้เพียงพอต่อการทำงานกับข้อมูลขององค์กร หน่วยความจำที่เป็นหน่วยความจำหลักจะต้องสนับสนุนการทำงานให้เพียงพอ หน่วยประมวลผลจะต้องมีความสามารถหรือความเร็วเพียงใด นอกจากนี้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อบันทึกข้อมูลก็มีความสำคัญ เช่น ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลที่จะต้องบันทึกลงบนสื่อบันทึกข้อมูลมีมากเพียงใด จะต้องใช้เนื้อที่มากแค่ไหนจึงจะมีประสิทธิภาพ ท้ายที่สุดสิ่งที่จะต้องกล่าวถึงในระบบขนาดใหญ่ก็คือ เรื่องของการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ก็จะต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายด้วย เป็นต้นในองค์ประกอบที่เป็นอุปกรณ์นี้จะเรียกว่า Physical database
รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RELATIONAL DATABASE) เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (RELATION) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถวและเป็นคอลัมน์ การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตารางจะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (ATTRIBUTE)หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล เช่น
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (NETWORK DATABASE) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ในแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกันแต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน โดยแสดงไว้ในโครงสร้าง เช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (HIERARCHICAL DATABASE) ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ – ลูก หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ TREE ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน Record ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล Field ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น